News Update | HOME
     ประวัติและผลงาน | ตัวอย่างผลงานชำนาญการ เชี่ยวชาญ | ตัวอย่างบทความทางวิชาการ | ตัวอย่างการเขียนขอชำนาญการ | ระบบแท่ง
     คลิปวีดีโอ | คำพิพากษาศาลปกครองในการตั้งกรรมการอ่านผลงาน | การเขียนคู่มือปฏิบัติงาน
เทคนิคการเขียนผลงานการวิเคราะห์ | เอกสารความก้าวหน้าของบุคคล | ถาม-ตอบ

ตัวอย่างบทความทางวิชาการ

      ในการพิจารณาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินผลงานเพื่อกำหนดตำแหน่งให้เป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พิจารณาจากองค์ประกอบดังต่อไปนี้

      ในระดับผู้ชำนาญการพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ(1-3) , ในระดับเชี่ยวชาญพิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ(1-4) และในระดับเชี่ยวชาญพิเศษ พิจารณาจาก 4 องค์ประกอบ(1-5)
      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเห็นเพียงแค่องค์ประกอบตัวที่ 3 คือตัวผลงานทางวิชาการที่ใช้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เท่านั้น
      องค์ประกอบตัวที่ 1 และ 2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีโอกาสได้เห็นเลยว่าผู้ยื่นขอฯ มีปริมาณงานในหน้าที่(งานประจำ)มีมากน้อยเพียงใด
      ในเมื่อองค์ประกอบตัวที่ 1 ที่เป็นปริมาณที่สามารรถที่นับได้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิยังไม่มีโอกาสได้เห็น แล้วองค์ประกอบตัวที่ 2 ที่เป็นคุณภาพ(งานงานที่ประจำที่ทำ)ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะมันเป็นสิ่งที่นับไม่ได้ จับต้องไม่ได้
      ดังนั้น....การพิจารณาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในองค์ประกอบตัวที่ 1 และองค์ประกอบตัวที่ 2 จึงพิจารณา(ให้ผ่าน/ไม่ให้ผ่าน)จากแบบ ก.ม.03 ที่เป็นแบบประวัติและผลงานของผู้ยื่นขอฯ
      ผมจึงได้นำตัวอย่างการเขียนแบบ ก.ม.03 ที่เป็นแบบประวัติและผลงานของผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่ง และผ่านการพิจารณาให้เป็นผู้ชำนาญการ ระดับ 7-8 และ ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 9 มาแล้ว มาให้ศึกษาดูเป็นตัวอย่างในการที่จะเขียนอย่างไรเพื่อให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็น "ปริมาณงาน" และ "คุณภาพงาน" ให้ได้! โดยที่ไม่ต้องนำผลงานประจำที่ทำอยู่ทุกวันในกล่อง(กรณีที่มีน้อย) หรือใส่รถปิคอัพ(กรณีที่มีมากขนไม่ไหว)ส่งไปให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ติดต่อ :   โทรศัพท์/โทรสาร 0-4320-2337 , มือถือ 08-9617-7878 E-mail : ruajar@kku.ac.th